หน้าเว็บ

วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เทือกเขาเพชรบูรณ์

เทือกเขาเพชรบูรณ์
เทือกเขาที่ทอดยอดมาจากดินแดนประเทศลาว มุ่งสู่ภาคกลางของประเทศ กินพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียง และภาคกลาง ตั้งแต่จังหวัดเลย จนถึงจังหวัดลพบุรี และสระบุรี ยอดเขาและสันเขาที่สำคัญ ได้แก่ ภูสอยดาว ภูเมี่ยง ภูขัด และภูหินร่องกล้า เขาปู่ เขาย่า เขาค้อ เขาผ้าขาว และเขารัง ทางด้านทิศตะวันออกมี ภูหลวง ในจังหวัดเลย และภูเขียว ในจังหวัดชัยภูมิ กินพื้นที่อยู่ในภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งในส่วนของภาคกลางแบ่งออกเป็นเทือกเขาเพชรบูรณ์ 1 และเทือกเขาเพชรบูรณ์ 2 โดยเทือกเขาเพชรบูรณ์ 1 เป็นทิวเขาทางทิศตะวันออก ของแม่น้ำป่าสัก ต่อไปทางใต้เรียกชื่อว่า “ทิวเขาดงพญาเย็น”
ส่วน เทือกเขาเพชรบูรณ์ 2 เป็นทิวเขาอยู่ทางตะวันตก ของแม่น้ำป่าสัก ทอดตัวผ่านถนนสาย พิษณุโลก-เพชรบูรณ์-เลย รวมความยาวประมาณ 350 กิโลเมตร ลำน้ำที่ไหลจากทิวเขานี้ ทางด้านตะวันออกจะไหลลงส ู่แม่น้ำป่าสัก ทางด้านทิศตะวันตกน้ำจะไหลลง สู่แม่น้ำน่านที่ราบ ระหว่างทิวเขาเพชรบูรณ์ 1 และ2 เป็นที่ราบที่มีดิน ที่สมบูรณ์มีน้ำใต้ดินมาก ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรสูง
ส่วน เทือกเขาในส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ทางชายขอบตะวันตกตอนบน ซึ่งทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ กลายเป็นเส้นกั้นเขตแดนจังหวัดเลย กับจังหวัดชัยภูมิยอดเขาที่สูง ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ ยอดเขาภูหลวง สูง 1,571 เมตร โดยเฉพาะภูกระดึง (1,316 เมตร) จะมีลักษณะพิเศษ คือ เป็นภูเขายอดตัดแบบราบ คล้ายโต๊ะ ซึ่งเกิดจากการกัดเซาะของน้ำ

ลักษณะภูมิประเทศของเพชรบูรณ์

จังหวัด เพชรบูรณ์  มีพื้นที่  12,338  ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ลุ่มแบบท้องกะทะ ประกอบด้วยเนินเขา ป่าและที่ราบเป็นตอน ๆ  สลับกันไป พื้นที่มีลักษณะลาดชันจากเหนือลงไปใต้ ตอนเหนือมีทิวเขาสูง ตอนกลางของจังหวัดเป็นที่ราบ และมีเทือกเขาเพชรบูรณ์ ขนาบกันไปทั้งสองข้าง   ทั้งทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก    ถ้าอยู่ในตัวจังหวัดจะมองเห็นภูเขาล้อมรอบ ทั้งสี่ด้าน  มี แม่น้ำป่าสัก ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่สุดของจังหวัดไหลผ่านตอนกลางของจังหวัด  จากทิศเหนือไปทิศใต้ยาว ประมาณ  350 กิโลเมตร  ต้นกำเนิดเกิดจากภูเขาผาลา ในจังหวัดเลย และมีห้วยลำธารหลายสายเกิดจากภูเขาเพชรบูรณ์  แม่น้ำป่าสัก ไหลผ่าน  อำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก อำเภอเมือง อำเภอหนองไผ่ อำเภอบึงสามพัน อำเภอวิเชียรบุรี และอำเภอศรีเทพ จังหวัด เพชรบูรณ์   ผ่านอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี  อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี และไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จังหวัดพระนคร ศรีอยุธยา    แล้วไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งซ้ายที่ ป้อมเพชร อำเภอพระนครศรีอยุธยา

อาณาเขต

จังหวัด เพชรบูรณ์ จัดเป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 15 องศา 20 ลิปดา ถึง 17 องศา 10 ลิปดา เหนือ และ ลองจิจูดที่ 100 องศา 40 ลิปดา ถึง 101 องศา 45 ลิปดาตะวันออก ส่วนกว้างที่สุดของจังหวัด จากด้านตะวันออก ถึง ด้านตะวันตก กว้าง 55 กิโลเมตร ส่วนที่ยาวที่สุดจากด้านเหนือ ถึง ด้านใต้ ยาว 296 กิโลเมตร อยู่สูงจากระดับ  น้ำทะเลปานกลางประมาณ 114 เมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 12,668.416 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 7,917,760 ไร่ อยู่ห่างจาก กรุงเทพมหานคร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 และ 21 รวม 346 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
          ทิศเหนือ                ติดต่อกับจังหวัดเลย
          ทิศใต้                    ติดต่อกับจังหวัดลพบุรี
          ทิศตะวันออก         ติดต่อกับจังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดขอนแก่น
          ทิศตะวันตก           ติดต่อกับจังวัดพิจิตร  พิษณุโลก และจังหวัดนครสวรรค์

ภูมิอากาศ
จังหวัด เพชรบูรณ์มีภูมิอากาศแบบเขตร้อน อยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ   สภาพอากาศ ของจังหวัดเพชรบูรณ์แบ่งได้เป็น 3 ฤดู คือ
ฤดูร้อน   เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนเมษายน
ฤดูฝน     เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึง เดือนตุลาคม
ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์
             จังหวัดเพชรบูรณ์  มีภูเขาล้อมลอบทำให้มีอากาศร้อนจัดในฤดูร้อน  และหนาวจัดในฤดูหนาว  โดยเฉพาะที่อำเภอ น้ำหนาว  อำเภอเขาค้อ และอำเภอหล่มเก่า อากาศจะหนาวมากที่สุดของจังหวัด  ตามกติฤดูร้อนจะเริ่มในเดือน มีนาคม ถึงเดือน เมษายน ฝนจะเริ่มในเดือน พฤษภาคม ถึง ตุลาคม  แต่มีระยะหนึ่งซึ่งฝนจะทิ้งช่วงประมาณ  1-3 สัปดาห์ คือ เดือน กรกฎาคม  เว้นแต่ปีใดมีพายุดีเปรสชั่นผ่านเข้ามา ในช่วงเดือนกรกฎาคม  จะทำให้สภาวะของฝนดีกว่าปกติ  ส่วนในฤดูหนาวจะเริ่มในเดือน พฤศจิกายน ถึงเดือน กุมภาพันธ์ ของทุกปี

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ภาวะโลกร้อน กับ หมีขั้วโลก