หน้าเว็บ

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555


ประวัติจังหวัดเพชรบูรณ์

          จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นเมืองโบราณ ที่ยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าใครสร้างเมืองนี้ขึ้นเมื่อใดสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชา นุภาพทรงวิเคราะห์ว่า เพชรบูรณ์สร้างขึ้นมา 2 ยุค ในแห่งเดียวกัน วัดมหาธาตุและวัดโบราณเป็นหลักฐานยืนยันว่า ยุคแรกสร้างเมื่อ เมืองเหนือคือ กรุงสุโขทัย หรือ พิษณุโลกเป็นเมืองหลวง มีลำน้ำอยู่กลางเมือง กำแพงเมืองกว้างยาวด้านละ 800 เมตร ยุคที่สอง สร้างในสมัย สมเด็จพระนารายณ์ มหาราช มีป้อมและกำแพงก่อด้วยอิฐปูนศิลา แต่เล็กและเตี้ยกว่า มีแม่น้ำอยู่กลางเมือง กำแพงเมือง ขนาดเล็กลง ตั้งอยู่ทางป่าด้านเหนือ เพื่อป้องกันศัตรู ส่วนทางด้านใต้เป็นไร่นา จากหลักฐานการค้นพบซากโบราณสถาน และจากหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ ที่ค้นพบ ในเมืองศรีเทพ เพชรบูรณ์ มีอายุมากกว่า 1,000 ปี สร้างขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกับเมือง พิมาย. ลพบุรี และจันทบุรี ดังหลักฐานที่ประกฎ เช่น ซากตัวเมืองและพระปรางค์ บริเวณที่ตั้งเมือง เป็นที่ราบ มีกำแพงดินสูงรอบเมือง และล้อมรอบ ด้วยคูเมือง ภายในเมืองมีพระปรางค์ ซากเทวสถาน รูปเทพารักษ์ พระนารายณ์ รูปยักษ์สลักด้วยศิลาแลง เช่นเดียวกับเมืองพิมาย ลพบุรี และจันทบุรี จึงเป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าเป็นฝีมือของขอมที่ได้รับอารยธรรมจากอินเดีย

          ในสมัยสุโขทัยลายพระหัตถ์เกี่ยวกับเพชรบูรณ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และสมเด็จ พระเจ้า บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงค์ มีความว่าเดิมจะตั้งชื่อเมืองเพชรบูร. ให้ใกล้เคียงกับเพชรบุรี แปลว่า เมืองแข็ง แต่ชื่อ อาจใกล้เคียงกันมากเกินไป จึงตั้งชื่อว่าเพชรบูรณ์ สันนิษฐานว่าตั้งชื่อรุ่นเดียวกับเมืองพิษณุโลก คำว่าเพชรบูรณ์ อาจมาจาคำว่าพืช ในประเทศอินเดียมีเมืองโบราณชื่อ BIJURE เทียบได้กับพืชปุระ ชื่อเมืองเพชรบูรณ์เขียนได้ 2 แบบ คือ เพชรบูรณ์ และ เพชรบูร จากศิลาจารึกสมัยสุโขทัย (หลักที่ 53 ) จากวัดอโศการาม ( พ.ศ. 1949 ) มีข้อความอ้างอิงถึงจังหวัดเพชรบูรณ์ดังนี้           " รัฐมณฑลกว้างขวาง ทั้งปราศจากอันตรายและนำมาซึ่ง ความรุ่งเรือง รัฐสีมาของพระราชาผู้ทรง บุญญสมภาคองค์ นั้น เป็นที่รู้จักกันอยู่ว่า ในด้านทิศตะวันออกทรงทำเมืองวัชชะปุระเป็นรัฐสีมา ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทรงทำเมืองเชียงทอง เป็น รัฐสีมา..." จากศิลาจารึกนี้ ชื่อเมืองเพชรบูรณ์อาจจะมาจากคำว่าบุระหรือปุระ แปลว่า ป้อม หอวัง ส่วนคำว่าบูรณ์ มาจากคำว่า ปูรณ แปลว่าเต็ม นายตรี อมาตกุล อธิบายว่า เมืองเพชรบูรณ์อาจจะเป็นเมืองราดก็ได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอ หลักฐานโบราณคดี ชี้ชัดว่า เมืองเพชรบูรณ์ เป็นรัฐสีมาของสุโขทัย ได้แก่ พระเจดีย์ทรงดอกบัวตูม หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ซึ่งพระประธานของวัด มหาธาตุของสุโขทัยและเมืองอื่นๆ ซึ่งจัดว่าเป็นพุทธสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยแท้ และในการขุดค้นทางโบราณคดี ที่พระเจดีย์ ทรงดอกบัวตูม ที่วัดมหาธาตุ เมืองเพชรบูรณ์ของกรมศิลปกร เมื่อพ.ศ. 2510 ค้นพบศิลปวัตถุจำนวนมาก เช่น เครื่องสังคโลก ของไทย และเครื่องถ้วยกับตุ๊กตาจีน

          ในสมัยอยุธยา กฎหมายที่ตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ ว่าด้วยการเทียบศักดินาสำหรับข้าราชการ ที่มียศ สูงสุดมีศักดินาหนึ่งหมื่น ได้แก่ ฝ่ายทหาร จำนวน 12 ตำแหน่ง มีพระยาเพชรรัตน์สงคราม ตำแหน่งประจำเพชรบูรณ์ด้วย สมัยสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิ แห่งกรุงศรีอยุธยา (สมเด็จพระมหาธรรมราชา) ได้ทำสัมพันธไมตรีกับ พระไชยเชษฐาธิราช แห่งนครเวียงจันทน์ เพราะเกรงว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาจะยกทัพมาตี สมเด็จพระมหาธรรมราชา พระไชยเชษฐาธิราช ได้ปฏิบัติตามสัญญาพันธมิตร ณ เจดีย์ศรีสองรักษ์ อีก 5 ปีต่อมาพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้งหนึ่ง ทัพพระไชยเชษฐา ส่งกองทัพมาช่วย ทางด่านเมืองนครไทย เข้ามาทางเมืองเพชรบูรณ์ ผ่านมาทางเมืองสระบุรีเวลารบนาน 9 เดือน จึงเสียกรุงศรีอยุธยา ราวปี พ.ศ. 2100 สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา ที่กล่าวถึงเมืองเพชรบูรณ์ดังต่อไปนี้            พระยาละแวก เจ้าแผ่นดินเขมร ยกทหารมา 3 หมื่นคน เข้ามาทาง เมืองนครนายก สมเด็จพระมหาธรรมราชาเกรงว่าจะตั้งรับทัพเขมรไม่ได้ เพราะถูกพระเจ้าหงสาวดี กวาดต้อนเอาทหารและอาวุธไป เมื่อกรุงแตกสมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงมีบัญชา ให้ขุนเทพอรชุน จัดเตรียมเรือพระที่นั่งและเรือ ประทับเสด็จไปที่เมืองพิษณุโลก เพื่อให้พ้นศัตรูก่อน ขณะนั้นพระเพชรรัตน์ เจ้าเมืองเพชรบูรณ์ มีความผิด จึงถูกปลดออกจากตำแหน่ง มีข่าวลือไปถึงเมืองหลวงว่า พระเพชรรัตน์โกรธ และคิดซ่องสุมคนเพื่อ ดักปล้นกองทัพ หลวง สมเด็จพระมหาธรรมราชาจึง ไม่เสด็จไปที่พิษณุโลก และตีทัพ พระยาละแวกแตกไป ในสมัยพระมหาธรรมราชา ยังได้กล่าวถึง จังหวัดเพชรบูรณ์อีกว่า มีไทยใหญ่ที่เมืองกำแพงเพชรอพยพหนีพม่า และมอญมุ่งไปทางเมืองพิษณุโลก ทรงเกรง ว่าเป็นพวกอื่น ปลอมปนมาด้วย จึงอายัดด่านเพชรบูรณ์ เมืองนครไทย ชาติตระการและซา ไม่ให้ไทยใหญ่หนีไปได้

          พ.ศ. 2218 เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ได้นำกองทัพ ตีแตกทัพ อะแซ หวุ่นกี้ (พม่า) ที่ล้อมเมืองพิษณุโลก ออกมาได้ และมาชุมนุม พักทัพที่เมืองเพชรบูรณ์

           จากบทความ ในหนังสือนิทานโบราณคดี พระนิพนธ์ ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวถึงเมือง ศรีเทพและเมืองเพชรบูรณ์ว่า ขณะที่เป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงไปสืบเมืองโบราณ และไม่มีใครรู้ว่าเมืองศรีเทพ อยู่ที่ใด ได้พบสมุดดำเป็นหนังสือให้คนเชิญตรา ไปบอกข่าวเรื่องการสิ้นรัชกาลที่ 2 ตามหัวเมืองสระบุรี เมืองชัยบาดาล เมืองศรีเทพและ เมืองเพชรบูรณ์ สำหรับพระราชพงศวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ เรื่องทรงตั้งและแปลงนามเจ้าเมือง กรมการ ซึ่งมีว่า เจ้าเมืองเพชรบูรณ์ คือพระเพชรพิชัยปลัดแปลงเป็นพระเพชรพิชภูมิ หลักฐานที่ชัดเจน เป็นพระราชนิพนธ์นิทาน โบราณคดีของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเรื่องคนไข้เมือง เพชรบูรณ์ มีว่า เมืองเกิดไข้มาลาเรียระบาดอย่างร้ายแรง ที่เมืองเพชรบูรณ์ไม่มีผู้ใดอาสาไปรับราชการ ด้วยความกลัวไข้ ท่านจึงเสด็จไป ตรวจราชการที่เมืองเพชรบูรณ์ เองเพื่อแสดงให้เห็นว่า ไข้มาลาเรียไม่ได้ร้ายแรง อย่างเช่นที่กลัวกัน            ขณะที่เตรียมตัว ออกเดินทางก็มีคนห่วงใย มาส่งและให้พรคล้ายกับจะไปทำการรบ เมื่อเสด็จถึง เมืองเพชรบูรณ์ ทรงกล่าว ว่า " ฉันไปถึงเมืองเพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ท้องที่มณฑลเพชรบูรณ์ บอกแผนที่ ได้ไม่ยาก ถือลำแม่น้ำป่าสัก เป็นแนวแต่เหนือลงมาใต้มีภูเขาสูงเป็นเทือกเขาลงมา ตามแนวลำน้ำทั้งสอง ฟากเทือกข้างตะวันออก เป็นเขาปันน้ำ ต่อแดน มณฑณ นครราชสีมา เทือกเขาตะวันตกเป็นเขาต่อ แดนมณฑลพิษณุโลก เทือกเขาทั้งสองข้างบางแห่งก็ห่าง บางแห่งก็ใกล้ แม่น้ำป่าสัก เมืองหล่มสักที่อยู่สุดลำน้ำทางข้างเหนือ แต่ลงมาถึงเมืองเพชรบูรณ์ตรงที่ตั้งเมืองเพชรบูรณ์ เทือกเขาเข้ามา ใกล้ลำน้ำดูเหมือนจะไม่ถึง 400 เส้น แลเห็นต้นไม้บนภูเขาถนัดทั้ง 2 ฝั่ง ทำเลที่เมืองเพชรบูรณ์ตอนริมน้ำเป็นที่ลุ่ม ฤดูน้ำ น้ำท่วมแทบ ทุกแห่ง พ้นที่ลุ่มขึ้นไปเป็นที่ราบ ทำนาได้ผลดีเพราะอาจจะขุดเหมืองชักน้ำจากห้วยเข้านาได้เช่นเมืองลับแล พ้นที่ราบขึ้นไป เป็นโคกสลับ กับแอ่งเป็นหย่อม ๆ ไปจนถึงเชิงเขาบรรทัด บนโคกเป็นป่าเต็งรังเพาะปลูกอะไรอย่างอื่นไม่ได้ แต่ตามแอ่งน้ำ เป็นที่น้ำซับ เพาะปลูกพันธ์ไม้ งอกงามดี เมืองเพชรบูรณ์จึงสมบูรณ์ ด้วยกสิกรรม จนถึงชาวเมืองทำนา ครั้งเดียวก็ได้ข้าวพอกินกันทั้งปี สิ่งซึ่งเป็น สินค้า เมืองเพชรบูรณ์ ก็คือ ยาสูบ เพราะรสดีกว่ายาสูบ ที่อื่นทั้งหมด ในเมืองไทย ชาวเมืองเพชรบูรณ์ จึงหาผลประโยชน์ ด้วยการปลูกยาสูบขาย" หลังจากที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรง ราชานุภาพ เสด็จกลับถึงกรุงเทพฯทรงยืนยันถึงประโยชน์ ของการไป ครั้งนี้ว่าสามารถหาคนไปรับราชการ ในเมืองเพชรบูรณ์ได้ ง่ายกว่าสมัยก่อนมาก           ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลรวบรวมหัวเมืองต่างๆ เข้าเป็นมณฑล ในปี พ.ศ. 2436 และในปี พ.ศ. 2440 เมืองเพชรบูรณ์ได้ยกฐานะเป็นมณฑลเพชรบูรณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด ดำรงตำแหน่ง สมุหเทศบาลอำเภอหล่มสัก ยกฐานะเป็น จังหวัดหล่มสักใน พ.ศ. 2447 มณฑลเพชรบูรณ์ถูกยุบไป ขึ้นกับมณฑลพิษณุโลก แต่ได้รับการ แต่งตั้งอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2450 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ยุบเมืองเพชรบูรณ์ไปขึ้นกับมณฑณพิษณุโลก มีฐานะเป็นเมือง เพชรบูรณ์ตามเดิม มีการยกเลิกมณฑณ ต่างๆ เมื่อมีพระราชพิธีราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

           ในระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ 2 และสงครามมหาเอเชียบูรพา กรุงเทพฯ ถูกข้าศึกโจมตีจนประชาชนต้อง อพยพ ออกต่างจังหวัด จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เห็นสมควรย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เพราะมีชัยภูมิประเทศ เป็นภูเขา ล้อมรอบ มีทางออกทางเดียว ศัตรูรุกรานยาก คณะรัฐมนตรีจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้ยกร่างพระราชกำหนด สร้างนครบาลขึ้นชื่อว่า "พระราชกำหนดระเบียบการบริหาร นครบาล เพชรบูรณ์ และสร้างพุทธบุรี พ.ศ.2487"
          การก่อสร้างเมืองหลวงใหม่ได้ดำเนินการโดยเร่งด่วน และถือเป็น ความลับของราชการ ยุทธของชาติตลอดมา เพื่อ มิให้ข้าศึก รู้แผนการณ์ กระทั่งวันที่ 20 กรกฎาคม 2487 รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เสนอ พระราชกำหนด ระเบียบราชการ บริหาร นครบาลเพชรบูรณ์ฯ พ.ศ. 2487 ต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่ออนุมัติเป็นพระราชบัญญัติ มีผลดำเนิน การ อย่างถาวร ตลอดไปแต่ในที่สุด สภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่อนุมัติด้วยคะแนนเสียง 48 ต่อ 36 ด้วยเหตุผลว่า "เพชรบูรณ์เป็นแดนกันดาร ภูมิประเทศเป็นป่าเขา และมีไข้ชุกชุม เมื่อเริ่มสร้างเมืองนั้นผู้ที่ถูกเกณฑ์ไปทำงานล้มตายลง นับเป็นพัน ๆ คน
" อนุสรณ์นครบาลเพชรบูรณ์แห่งนี้ จึงสร้างขึ้นเพื่อรำลึก ถึงบุญคุณและอัจฉริยภาพของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และเพื่อคน เพชรบูรณ์ จะได้ภูมิใจในประวัติศาสตร์ช่วงหนึ่งและความเจริญก้าวหน้า ของบ้านเมืองตน

http://www.tourphetchabun.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น