หน้าเว็บ

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สภาพอากาศและภูมิอากาศในเมืองไทย


ภูมิอากาศ




ประเทศไทยมีภูมิอากาศแบบเขตร้อน พื้นที่ตั้งอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดจากมหาสมุทรอินเดีย ทำให้เกิดฤดูฝน และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดจากจากทะเลจีนใต้ ทำให้เกิดฤดูหนาว มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 18-34 องศาเซลเซียส
โดยภาพรวมแล้ว ประเทศไทยมี 3 ฤดู คือ
ฤดูร้อน มีอากาศร้อนอบอ้าวและแห้งแล้งโดยทั่วไป ปริมาณฝนน้อย โดยจะร้อนมากที่สุดประมาณเดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 28-32 องศาเซลเซียส แต่ในภาคใต้อุณหภูมิเฉลี่ยจะอยู่ระหว่าง 26-30 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน มีพายุลมแรง ฝนตกชุกเป็นบริเวณกว้าง โดยตกหนักถึงหนักมากในบางครั้ง มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั่วประเทศประมาณ 1,100-1,500 มิลลิเมตรต่อปี โดยบริเวณที่ฝนตกมากที่สุดคือภาคใต้และริมชายฝั่งของภาคตะวันออก ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 2,000 มิลลิเมตรต่อปี และในบางท้องที่สูงถึง 4,000 มิลลิเมตรต่อปี บริเวณที่มีฝนตกน้อยคือบริเวณเทือกเขาสูงตอนกลางของประเทศ ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่ำกว่า 1,000 มิลลิเมตรต่อปี
ฤดูหนาว มีอากาศเย็น และหนาวถึงหนาวจัดในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณภูเขาสูงและยอดดอยต่างๆ มีอุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนมกราคมอยู่ระหว่าง 26-28องศาเซลเซียส
อย่างไรก็ตาม ฤดูกาลในแต่ละภูมิภาคของประเทศนั้นจะแตกต่างกันเล็กน้อย เกิดจากปัจจัยด้านอุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน และความห่างไกลจากทะเลเป็นสำคัญ โดยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง มีภูมิอากาศแบบสะวันนา คือ มีช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งสลับกันชัดเจน ส่วนภาคใต้และภาคตะวันออกมีภูมิอากาศแบบป่าฝนเมืองร้อน คือ ฝนตกเกือบตลอดทั้งปี
ฤดูกาลตามแต่ละภูมิภาคแบ่งได้ดังนี้
ภาคเหนือ มี ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน คือช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ฤดูฝน คือช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม และฤดูหนาว คือช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน คือช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ฤดูฝน คือช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม และฤดูหนาว คือช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม
ภาคกลาง มี ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน คือช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ฤดูฝน คือช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม และฤดูหนาว คือช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม
ภาคใต้ มีเพียง ฤดู คือ ฤดูฝน หรือฤดูมรสุม และฤดูร้อน หรือฤดูท่องเที่ยว โดยฝั่งตะวันออกหรือฝั่งอ่าวไทย ฤดูร้อนจะอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม-กันยายน ส่วนฝั่งตะวันตกหรือฝั่งทะเลอันดามัน ฤดูร้อนจะอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน



f

ฤดูหนาว (พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์)

มีอากาศเย็น และหนาวถึงหนาวจัดในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณภูเขาสูงและยอดดอยต่างๆ มีอุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนมกราคมอยู่ระหว่าง 26-28 องศาเซลเซียส




ฤดูร้อน (มีนาคม - มิถุนายน)

มีอากาศร้อนอบอ้าวและแห้งแล้งโดยทั่วไป ปริมาณฝนน้อย โดยจะร้อนมากที่สุดประมาณเดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 28-32 องศาเซลเซียส แต่ในภาคใต้อุณหภูมิเฉลี่ยจะอยู่ระหว่าง26-30 องศาเซลเซียส




ฤดูฝน (กรกฎาคม - ตุลาคม)

มีพายุลมแรง ฝนตกชุกเป็นบริเวณกว้าง โดยตกหนักถึงหนักมากในบางครั้ง มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั่วประเทศประมาณ 1,100-1,500 มิลลิเมตรต่อปี โดยบริเวณที่ฝนตกมากที่สุดคือภาคใต้และริมชายฝั่งของภาคตะวันออก ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 2,000 มิลลิเมตรต่อปี และในบางท้องที่สูงถึง 4,000 มิลลิเมตรต่อปี บริเวณที่มีฝนตกน้อยคือบริเวณเทือกเขาสูงตอนกลางของประเทศ ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่ำกว่า 1,000 มิลลิเมตรต่อปี


ตารางสภาพอากาศ

ตารางแสดงอุณหภูมิสุงสุด และต่ำสุดของค่าเฉลี่ยประจำวัน โดยแสดงเป็นเซลเซียส และฟาเรนไฮต์
ฤดูร้อน
มีนาคม – มิถุนายน
ฤดูฝน
กรกฎาคม – ตุลาคม
ฤดูหนาว
พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
ภาคกลาง
อุณหภูมิ (C)
อุณหภูมิ (F)

30/20
80/55

32/28
70/65

30/20
80/55
ภาคเหนือ
อุณหภูมิ (C)
อุณหภูมิ (F)

44/46
77/56

28/20
77/56

28/24
65/56
ภาคใต้
อุณหภูมิ (C)
อุณหภูมิ (F)

32/28
70/65

30/20
80/55

44/46
77/56
ภาคตะวันออก
อุณหภูมิ (C)
อุณหภูมิ (F)

28/20
77/56

44/46
77/56

32/28
70/65
ภาคตะวันตก
อุณหภูมิ (C)
อุณหภูมิ (F)

28/24
65/56

30/20
80/55

28/20
77/56
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อุณหภูมิ (C)
อุณหภูมิ (F)





30/20
80/55



44/46
77/56

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น